ประวัติโรงเรียนบ้านสะแร



ประวัติโรงเรียนบ้านสะแร




โรงเรียนบ้านสะแรตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ โดยชาวบ้านร่วมกันสร้างขึ้นเอง เป็นอาคารเรียนชั่วคราว               โดยให้นักเรียนนั่งเรียนกับดิน เปิดทำการสอนมีครูสอน ๑ คน คือ นายมั่น  ชื่นบาน อีกหลายปีต่อมาทางราชการได้บรรจุครู                    เพิ่มอีก ๒ คน คือ นายอำนวย  วุฒิยา และนายพิรุน  ปัดภัย ต่อมามีการย้ายสับเปลี่ยนกันเรื่อยๆ (ผู้เขียนไม่สามารถบันทึกรายละเอียดได้ เพราะเมื่อมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้ค้นหาหลักฐานต่างๆ ก็ไม่มีรายละเอียดบันทึกไว้ได้ข้อมูลจากการสอบถามคนที่มาอยู่ก่อนเท่านั้น)
ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ฉ ขนาด ๒ ห้องเรียน ราคา ๓๕,๐๐๐ บาท                   จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
ปี พ.ศ.๒๕๑๖ นายมั่น  ชื่นบาน ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านอาโพน นายชูชาติ  ดวงดี  ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน มีครูทำการสอน ๓ คน คือ นายชูชาติ  ดวงดี  นายควง  บุญเยี่ยม  นายสุขะ  จันทเขต                             
ปี พ.ศ.๒๕๑๘ นายชูชาติ  ดวงดี ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโชค  นายสมศรี  จำปาหอมย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน มีครูทำการสอน ๓ คน คือ นายสมศรี  จำปาหอม นายควง  บุญเยี่ยม และนายอัมพร  ธรรมสุข
ปี พ.ศ.๒๕๑๙ ได้ครูเพิ่ม ๑ คน คือ นางประกอบ  จำปาหอม ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านระมาดค้อ
ปี พ.ศ.๒๕๒๑ นายควง  บุญเยี่ยม ได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนกลาโหมราชเสนา ๒
ปี พ.ศ.๒๕๒๒ นายอัมพร  ธรรมสุข ได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนบ้านบัวเชด ทางราชการได้บรรจุครูเพิ่ม ๔ คน                 คือ นางสาวกัลยาณี  นรสาร นางสาวนงลักษณ์  จินดาวงค์ นายนัน  หวังผล  นายประหยัด  พานิกุล รวมมีครู ๖ คน
ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้ครูเพิ่มอีก ๔ คน คือ นางสาวนาถวดี  โนนสวรรค์ นายวุฒิชัย  ชัยอาคม                           นายถวิล  เอี่ยมสะอาด และนายคะเนย์  แพงอก
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ครูเพิ่มอีก ๑ คน คือ นายมั่น  พรมเทศ
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ นายมั่น  พรมเทศ และนายคะเนย์  แพงอก ได้ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม  และได้ครูเพิ่มอีก ๑ คน คือ นายพิริยะ  มั่นวงค์
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ นายนัน  หวังผล ย้ายไปโรงเรียนบ้านโชค และได้ครูเพิ่มอีก ๕ คน คือ  นายประเสริฐ  นึกชอบ นายวิทยา  มาศรักษา นางสาวอำนวย  เหมหงส์ นางมยุรี  เกียรติกุลานุสรณ์ และนายประสงค์  กะการดี  รวมมีครูทั้งหมด ๑๒ คน
ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ครูเพิ่มอีก ๒ คน คือ นายสุวิทย์  สุดายงค์ และนางคัณธิชล  นรสาร
ปี พ.ศ.๒๕๓๐ นายพิริยะ  มั่นวงค์ ย้ายไปโรงเรียนบ้านโอทะลัน นายถวิล  เอี่ยมสะอาด ย้ายไปอำเภอสังขะ
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ นายวุฒิชัย  ชัยอาคม นางมยุรี  เกียรติกุลานุสรณ์ ย้ายกลับภูมิลำเนา และได้  ครูเพิ่ม ๒ คน                    คือ นางปรียา  สุวรรณ และนายชารี  น้อยมาลา
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ นางปรียา  สุวรรณ และนายชารี  น้อยมาลา ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม ได้ครูใหม่ ๑ คน                       คือ นายพิพัฒน์  พลเกษตร และครูย้าย ๑ คน คือ นายแสวง  เหมหงษ์
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้ครูใหม่ ๑ คน คือ นางสาวมุกดา  เดชะธนอิทธิกุล
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ มีครูย้ายมา ๑ คน คือ นายธนศิลป์  จงมั่งคั่ง ได้รับบรรจุเพิ่มอีก ๒ คน                                 คือ นางสุวรรณ มาศรักษา และนางสาวสมคิด  กล้ายิ่ง
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นางสุวรรณ  มาศรักษา และนายสุวิทย์  สุดายงค์ ย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม และได้รับบรรจุครูเพิ่มอีก ๒ คน คือ นางสาวคำหวาน  เงินเปีย และนายณัฐกุล  นามอภิชน
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับบรรจุครูเพิ่ม ๑ คน คือ นางสุพิศ  ทับอุดม รวมมีครู ๑๕ คน
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ทางราชการได้ย้ายครูมา ๒ คน คือ นายสุกิจ  เกตุศรี และนางทิฆัมพร  ภูดวงดาษ                      และได้รับบรรจุครูมาเพิ่มอีก ๑ คน คือ นายอภิชาติ  โกสีย์
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นปีแรก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๔ คน และทางราชการได้บรรจุ              ครูอัตราจ้างชั่วคราวมาเพิ่ม อีก ๒ คน คือ นางไพรวัน  จำปาจีน และนางสาววัลนา  พานิกุล และในปีนี้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่บ้านรุน และได้แยกนักเรียนบ้านรุนทั้งหมดไปเข้าเรียนที่โรงเรียน ต.ช.ด.บ้านรุน                ทำให้จำนวนนักเรียนลดลงมาก
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ นางสาววัลนา  พานิกุล ได้ลาออกเพื่อไปบรรจุเป็นข้าราชการครู และนางไพรวัน  จำปาจีน                ได้ลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น
ปี พ.ศ.๒๕๔๑ นายวิทยา  มาศรักษา ได้ย้ายไปโรงเรียนบ้านบุทม สปอ.เมืองสุรินทร์ นางสาวคำหวาน  เงินเปีย ย้ายกลับภูมิลำเนา คือ สปจ.นครศรีธรรมราช ทางราชการได้บรรจุ ครูอัตราจ้างชั่วคราว ๑ คน คือ นายประดับ  จงหาร                และบรรจุแต่งตั้งนางสาวสุทธิวรรณ  เข็มภูเขียว มาแทนตำแหน่ง นางสาวคำหวาน เงินเปีย และมีครูย้ายเข้ามา ๒ คน                   คือ นายเสรีภาพ  กงเพชร และนายถาวร  สืบเพ็ง
ปี พ.ศ.๒๕๔๒ นางอำนวย  มาศรักษา ย้ายไปที่โรงเรียนบ้านระมาดค้อ นายณัฐกุล  นามอภิชน ย้ายไป                      สปอ.ปราสาท  นายอภิชาต  โกสีย์ ย้ายไป สปอ.สังขะ
ปี พ.ศ.๒๕๔๓ นายสุกิจ  เกตุศรี ย้ายไป สปอ.สังขะ นายธงชัย  พิลาจันทร์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทน
ปี พ.ศ.๒๕๔๕ นายพิพัฒน์  พลเกษตร และนางมุกดา  พลเกษตร ได้ย้ายไปที่ สปอ.พระแสง สปจ.สุราษฎร์ธานี นายพิทยาธร  แก้วดี และนางอำไพ  พุทธกรณ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนและทางราชการได้บรรจุครูเพิ่มอีก ๑ คน                     คือ นางสาวบังอร  อุบาลี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๕
ปี พ.ศ.๒๕๔๗ นางสาวผานิตตา  พานจันทร์ (สมคิด  กล้ายิ่ง) ย้ายไปที่โรงเรียนบ้านอาโพน                        และได้บรรจุแต่งตั้ง นางสาวภัสวดี  โพธิ์ศรีศาสตร์ มาดำรงตำแหน่งแทน เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ปี พ.ศ.๒๕๕๑ นางบังอร  บุญศิริ ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่โรงเรียนบ้านโคกแปะ ตำบลโคกสี                      อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และนางนารี  นรสาร ย้ายจากโรงเรียนบ้านโอทะลัน ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มาดำรงตำแหน่งแทน
วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ นายสมศรี  จำปาหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะแร และนางประกอบ  จำปาหอม  ครูชำนาญการ ได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลังของส่วนราชการ (โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด) นายแสวง  เหมหงษ์ ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านสะแร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะแร
วันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ นายสงวน  คำลอย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสวาท ได้รับคำสั่งสำนักงานเขตพื้น                 ที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสะแร
ปี พ.ศ.๒๕๕๒ วันที่ ๑ กรกฎาคม นายประดับ  จงหาร พนักงานราชการ ลาออกเพื่อไปบรรจุรับราชการ                    และนางกวิสรา  แป้นจันทร์ พนักงานราชการโรงเรียนบ้านตาวังมาดำรงตำแหน่งแทน
ปี พ.ศ.๒๕๕๓  นายสงวน  คำลอย ได้รับคำสั่งย้ายไปดำรงตำแหน่งโรงเรียนบ้านสะเดา อำเภอบัวเชด                  จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต ๓ และต่อมานายพิศิษฐ์  ไพรสินธ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน          บัวขุนจง ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ  โรงเรียนบ้านสะแรแทนตำแหน่งที่ว่าง
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นางสาวอรทัย จงหาญ ครูโรงเรียนบ้านตาวัง อำเภอบัวเชด และนางยุวดี คำวงศ์ พนักงานราชการ โรงเรียนบ้านตาวัง อำเภอบัวเชด ได้รับคำสั่งย้ายมาดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้านสะแร
ปี พ.ศ.๒๕๕๕  นายพิศิษฐ์  ไพรสินธ์  ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนพญารามวิทยา  อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑  มกราคม ๒๕๕๕  นายวินัย  นาคแสง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแต้-หนองบก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต ๒ ย้ายมาแทนตำแหน่งที่ว่าง
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๘  กันยายน  ๒๕๕๕  นางสาวภัสวดี  โพธิ์ศรีศาสตร์ ย้ายกลับภูมิลำเนาที่  จังหวัดร้อยเอ็ด ตามโครงการย้ายครูคืนถิ่นตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕  ทางราชการได้บรรจุแต่งตั้งลูกจ้างชั่วคราว                           คือ นางสาวสุพิชญนันทน์  ถือชัย ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ตามโครงการคืนครูให้นักเรียน
ปี ๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ............. กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ทางราชการมีคำสั่งย้าย นายจิรวัฒน์  สันทาลุนัย ครู คศ.๑ จากโรงเรียนบ้านโพนม่วง ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ มาดำรงตำแหน่ง ครู ที่โรงเรียนบ้านสะแร
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านสะแร มีข้าราชการครูทั้งสิ้น จำนวน ๑๔ คน พนักงานราชการ จำนวน ๑ คน                       ช่างครุภัณฑ์ชั้น ๓ จำนวน ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน ๑ คน ครูอัตราจ้างพี่เลี้ยงอนุบาลชั่วคราวรายเดือน จำนวน ๑ คน และมีนักเรียน จำนวน ๒๒๗ คน
ความเปลี่ยนแปลงด้านอาคารสถานที่
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๑๐ สภาพโรงเรียนยังเป็นป่ามีสนามเล่นเพียงเล็กน้อย บริเวณโรงเรียนเต็มไปด้วย                 จอมปลวกและต้นไม้นานาชนิด
ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ฉ ขนาด ๒ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง                   ราคา ๓๕,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๑๕ ได้มีการพัฒนาหน้าอาคารเรียน ได้สนามเล่นเล็กน้อย และได้รับงบประมาณ สร้างบ้านพักครู แบบองค์การ ๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๗ คณะครูและผู้ปกครองได้พัฒนาเพิ่มเติม มีการปลูกมะพร้าว ๓ ต้น ไม้ประดับ ๕ ต้น               ทำให้บรรยากาศดีขึ้นบ้าง แต่ด้านหลังอาคารยังเป็นป่า
ปี พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๒๒ ได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก โดยคณะครูผู้ปกครอง โดยใช้เครื่องจักรบ้าง กำลังคนบ้างจนบริเวณหลังโรงเรียนใช้เป็นสนามต่างๆได้ บริเวณที่ลุ่มก็ได้รับงบประมาณขุดสระ ขนาด ๖๐ x ๔๐ เมตร นอกจากนั้น      ยังมีการปลูกไม้ประดับเป็นจำนวนมาก
ปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ฉ ขนาด ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ราคา ๒๐๓,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบ สปช.๑๐๓/๒๕๒๖ ขนาด ๓ ห้อง จำนวน ๑ หลัง    ราคา ๑๕๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๓/๒๕๒๖ ขนาด ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ราคา ๔๑๐,๐๐๐ บาท และได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.๖๐๑/๒๖จำนวน ๑ หลัง ๔ ที่ ราคา ๓๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ได้งบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๒/๒๕๒๖ ขนาด ๑๐ x ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง ราคา ๒๒๙,๔๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๒๗ คณะครูผู้ปกครองได้ร่วมกันจัดหาเงินสร้างรั้วโรงเรียนจนสำเร็จ โดยใช้หลักไม้แก่น และลวดหนาม สิ้นค่าใช้จ่าย ๑๑,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้งบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.๖๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ๒ แห่ง (ราคาไม่ทราบเพราะประมูลรวม)
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๓/๒๖ ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน ราคา ๕๓,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้จัดหาเงินสร้างสนามเด็กเล่น ราคา ๑๓,๐๐๐ บาท และสร้างที่จอดรถจักรยานนักเรียน                ราคา ๕,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับงบประมาณสร้างถังเก็บน้ำฝน แบบ ฝ.๓๓  ๑ ชุด
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ๒ ชั้นจำนวน ๘ ห้องเรียนราคา ๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับงบประมาณสร้างส้วม แบบ สปช.๖๐๑/๒๖  ๑ หลัง ๔ แห่ง
ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้งบปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา จำนวน ๑ ห้อง ราคา ๖๔,๓๓๓ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้งบปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน ๑ หลัง ราคา ๓๙,๙๔๕ บาท และงบปรับปรุง  ห้องคอมพิวเตอร์ ๑ ห้อง ราคา ๔๔,๙๘๙ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ขออนุมัติรื้ออาคารเรียน แบบ บ.จ.ฉ. ขนาด ๒ ห้อง เนื่องจากชำรุด ใช้การไม่ได้และได้รับงบประมาณ (มิยาซาวา) สร้างสนามบาสเกตบอล ราคา ๒๓๓,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ.๒๕๔๓ คณะครูผู้ปกครองร่วมบริจาคทรัพย์ เพื่อสร้างห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติจนสำเร็จเรียบร้อย                  จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยอาศัยวัสดุที่เป็นไม้จากการรื้ออาคารเรียน
ปี พ.ศ.๒๕๔๖ คณะครูผู้ปกครองร่วมบริจาคเงิน จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท สร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป     ประจำโรงเรียน
ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับบริจาคพระพุทธรูปจากคณะผ้าป่ากิ่งอำเภอโนนนารายณ์ จำนวน ๑ องค์                                      เพื่อประดิษฐานด้านหน้าโรงเรียน
ปี พ.ศ.๒๕๕๒ โรงเรียนได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียน ป.๑ฉ ๓ ห้องเรียน โดยเปลี่ยนเสา และยกพื้นสูง                   ขึ้น ๓.๐๐ เมตร พร้อมทำบันไดขึ้นทางทิศตะวันออก
ปี พ.ศ.๒๕๕๓ โรงเรียนได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียน ป.๑ฉ ๓ ห้องเรียน โดยปรับปรุงใต้ถุนอาคารเป็นหอประชุม มีเวทีและปูพื้นคอนกรีต และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น สวนหย่อมหน้าอาคารเรียนโดยได้รับงบประมาณจากผ้าป่า               เพื่อการศึกษาของคณะศิษย์เก่า เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
ปี พ.ศ.๒๕๕๕ โรงเรียนได้ปรับปรุงห้องน้ำอนุบาล ๑ และ ๒ ในตัวซึ่งใช้งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐  บาท
ปี ๒๕๕๕ โรงเรียนได้ปรับปรุงถนนหน้าอาคารเรียน  เป็นถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียนความยาว ๒๐๐ เมตร ได้รับจัดสรรงบประมาณ ๒๕๐,๐๐๐  บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงเรียนได้ปรับปรุงสนามเด็กเล่นโดยจัดสร้างหลังคาครอบสนามเด็กเล่นงบประมาณ ๓,๐๐๐๐ บาท
ปี ๒๕๕๕ โรงเรียนได้ปรับปรุงห้องน้ำให้ได้มาตรฐาน ซึ่งอยู่ใกล้อาคารโรงอาหาร งบประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท
ปี ๒๕๕๕ โรงเรียนได้ปรับปรุงระบบไฟฟ้าในอาคารเรียนและไฟส่องสว่างหน้าอาคารเรียน  งบประมาณ ๗๕๐๐๐  บาท
ปี ๒๕๕๖ โรงเรียนได้ปรับปรุงโรงอาหาร เพื่อให้นักเรียนรับประทานอาหารอย่างเป็นระเบียบ และป้องกันสุนัขเข้ามาภายในบริเวณที่รับประทานอาหาร
ปี ๒๕๕๗ โรงเรียนได้สร้างที่จอดรถสำหรับครู และแขกผู้มาเยือน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้